กล่องข้อความ: 		7-50100-001-052  		  ชื่อพื้นเมือง	:  เข็มแสด  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Ixora javaniga (BI.).  ชื่อวงศ์	:  RUBIACEAE  ชื่อสามัญ	:  -  ประโยชน์	:  ปลูกประดับสวนกลางแจ้ง

บริเวณที่พบ : อาคารวัฒนา
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ดอกประดับ
ลักษณะทั่วไป : เข็มแสดเป็นกล้วยไม้สกุลเข็มที่พบว่ามีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติไปทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ทางภาคเหนือพบที่จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่จังหวัดนครราชสีมา เลย อุดรธานี ชัยภูมิ มุกดาหาร ต่ำลงไปทางภาคกลางพบที่จังหวัดจันทบุรีทางภาคใต้พบที่จังหวัดพังงา และสตูล ในลักษณะภูมิประเทศทั้งที่ราบ
และที่เป็นภูเขา เนื่องจากกล้วยไม้ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติกว่างขวางจึงสามารถปลูกเลี้ยงให้เจริญงอกงาม
และออกดอกได้สม่ำเสมอตามฤดูกาลในทุกภาคของไทย
ลำต้น : เข็มแสดสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ต้นที่เจริญเติบโตมาก ๆ อาจสูงถึง 30 เซนติเมตร และมีหน่อที่โคนต้นหลายหน่อ
ใบ : ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.0-1.5 เซนติเมตร โค้งเล็กน้อย ใบซ้อนชิดกันใบมีสีเขียวแก่ มีลักษณะหนา
อวบน้ำ ปลายใบหยักเป็นฟันแหลม ๆ เล็กน้อยอาจจะมีจุดสีม่วงคล้ำบนแผนใบและขอบใบเมื่อกระทบสภาพแห้งแล้ง
เช่นเดียวกับเข็มแดงและเข็มม่วง
ดอก : เป็นแบบช่อตั้ง ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ประมาณช่อละกว่า 50 ดอก
ก้านช่อยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตร ก้านดอกยาวเรียวมีความยาวประมาณ 1.0 เซนติเมตร กลีบนอกและกลีบในของดอกมีขนาดประมาณ 3 x 6 มิลลิเมตร ปากกระเป๋าและเดือยยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร กลีบดอกค่อนข้างหนา ผิวเนื้อกลีบ (Texture) เป็นมันมีสีส้มสดใส หรือสีเหลืองส้มสะดุดตามาก
ประโยชน์ : ปลูกประดับสวนกลางแจ้ง


กลับหน้าหลัก
สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้     เข็มแสด      รหัสพรรณไม้   7-50100-001-052
ลำต้น
ใบ
ดอก
เมล็ด